เทคนิคควบเส้น
เทคนิคควบเส้นเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาที่มีสำคัญในการสร้างลวดลายที่สวยงามของผ้าไทย กระบวนการนี้เกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำกันของเส้นใยในผืนผ้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องทำก่อนการทอผ้าในขั้นตอนแรก ส่วนใหญ่เทคนิคควบเส้นจะใช้เส้นใยไหมหรือเส้นใยฝ้ายที่มีความแตกต่างการในเรื่องของน้ำหนักสี เช่น สีเขียวกับสีดำ สีขาวกับสีเขียว หรือ สีแดงกับสีเหลือง เพื่อมาปั่นตีเกลียวรวมกันให้เป็นเส้นเดียว ซึ่งกระบวนการนี้มีระบบการเกลียวเส้นใยอยู่ 2 ระบบหลักในประเทศไทย คือ
- การปั่นตีเกลียวไปด้านซ้าย
- การปั่นตีเกลียวไปด้านขวา
โดยเส้นด้ายที่ตีเกลียวแล้วนี้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นเส้นพุ่ง
ชื่อเรียกวิธีการควบเส้นไหม
ด้วยน้ำหนักสีที่แตกต่างกันของเส้นใยทำให้ผ้าที่ทอขึ้นมามีลักษณะสีเหลื่อมล้ำกันเป็นมันวาว คล้ายขนหางกระรอก จึงได้รับชื่อว่า “ผ้าหางกระรอก” ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นของภาคอีสานก็จะมีการเรียกชื่อวิธีการควบเส้นไหมนี้ด้วยคำศัพท์ท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปตามภาษาของกลุ่มวัฒนธรรม เช่น
- เป็น: ชาวภูไท, ชาวไท-ลาว ในภาคอีสานเรียกเทคนิคการควบเส้นไหมนี้ว่า “เป็น” และจะนิยมทอเป็นผ้าโสร่งตาตารางและผ้ายาวหรือโจงกระเบน
- กระนิว/กระเนียว: ชาวไทยเชื้อสายกูย, ส่วย และชาวเขมรเรียกการควบเส้นไหมว่า “กระนิว” หรือ “กระเนียว” และนิยมทอเป็นผ้าโจงกระเบน ผ้าโสร่งตาตาราง และผ้าซิ่นอันลูนซึม ฯลฯ กลุ่มนี้ยังคงทอผ้าประเภทนี้อยู่อย่างแพร่หลายในภาคอีสาน
- มับไม: ชาวไท-ลาว จังหวัดอุบลราชธานีเรียกผ้าทอของกลุ่มตนที่ทอเป็นลายริ้วด้วยเส้นไหมควบเส้นว่า “ซิ่นมิบไม” อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการทออย่างแพร่หลาย
สรุป
เทคนิคควบเส้นเป็นกระบวนการสร้างลวดลายอันสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ในผ้าไทย ด้วยการปั่นตีเกลียวเส้นใยไหมหรือเส้นใยฝ้ายที่มีน้ำหนักสีที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นลวดลายที่น่าดึงดูดและน่าค้นหา พร้อมกับชื่อเรียกเทคนิคควบเส้นเหล่านี้ในแต่ละท้องถิ่นของภาคอีสานที่เกิดจากคำศัพท์ที่แตกต่างกันออกไปตามภาษาของกลุ่มวัฒนธรรม เทคนิคควบเส้นไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการทอผ้าเท่านั้น แต่เทคนิคนี้ยังเป็นภูมิปัญญาและศิลปะอันน่านับถือในวัฒนธรรมไทยเราด้วย
ขอบคุณแหล่งที่มา:หนังสือมรดกภูมิปัญญา สิ่งทออีสาน