ลวดลายผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ มรดกดกลวดลายในภาคอีสานและความงดงามแบบชนชั้นสูง ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับลวดลายผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสำคัญของประเทศไทย
ลวดลายผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ
ลวดลายผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ นิยมทอด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “ขิด” ซึ่งเป็นการทอเสริมเส้นพุ่งพิเศษแบบต่อเนื่อง โดยใช้เส้นใยดิ้นเงินดิ้นทอง เช่น ลายกาบพร้าวและลายกาบหมาก เป็นต้น ส่วนเส้นไหมที่ใช้ในการทอลวดลายนี้มาจากไหมพื้นบ้านที่เลี้ยงในพื้นที่ท้องถิ่น
จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์
เอกลักษณ์ที่น่าสนใจของลวดลายผ้าซิ่นเมืองอุบลฯ คือ ส่วนหัวซิ่นที่นิยมทอตกแต่งด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “จก” โดยการเสริมเส้นพุ่งแบบพิเศษแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น ลายดาว, ลายดอกแก้ว, และลายกาบพร้าว เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้เป็นที่นิยมแพร่หลายและเรียกอย่างทั่วไปว่า “ซิ่นหัวจกดาว”
ส่วนสำหรับตีนซิ่น จะมีการประยุกต์ลายกรวยเชิงของราชสำนักสยามมาทอด้วยเทคนิคท้องถิ่นที่เรียกว่า “ตีนดวย” (คำว่า “ดวย” มีความหมายว่า “กรวย”) โดยมีลายขิดตีนซิ่นอื่นๆ อีก เช่น ลายตีนกระจับย้อย (กระจับควาย) ลายตีนช่อดอก และก้านของ (ดอกปีบ) เป็นต้น
ผ้าซิ่นทิว
ในภาคอีสานผ้าซิ่นทิวมีสีสีนเพียงแค่โทนสีแดง-ดำ แต่เมืองอุบลฯมีการออกแบบสีสันเพิ่มเติมเป็น โทนสีคราม-แดง โทนสีเขียว-ดำ และโทนสีแดง-คราม ดังพบหลักฐานผ้าในฮูปแต้ม วัดทุ่งศรีเมืองและมีการประยุกต์เครือผ้าซิ่นทิวผสมกับเทคนิคการทอยกมุก ชื่ว่า “ซิ่นทิวมุกจกดาว” สำหรับใช้ในหมู่เจ้านายและคนชั้นสูง
ขอบคุณแหล่งที่มา: หนังสือมรดกภูมิปัญญา สิ่งทออีสาน