ในบทความนี้จะพาคุณไปค้นพบเรื่องราว “สะคู” ลวดลายอัตลักษณ์ของผ้าสุรินทร์และความสำคัญในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์
ความหมายและลักษณะ
คำว่า “สะคู” ในลักษณะที่เรานิยมใช้ มักหมายถึงสระน้ำหรือแหล่งน้ำที่อยู่เป็นคู โดยวดลายผ้าสะคูคือตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีลักษณะคล้ายคูคลองและเรียงอยู่เป็นคู่ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างน่าสนใจที่จังหวัดสุรินทร์ โดยกลุ่มผู้ทอผ้าโบราณในพื้นที่
ลักษณะลวดลายนี้อาจเกี่ยวข้องกับหลักการสร้างปราสาทหินที่เชื่อกันว่าสร้างบาราย (สระน้ำ) เป็นคู่ๆ รายรอบปราสาทหิน โดยที่สระน้ำจะอยู่กึ่งกลางสี่เหลี่ยมจัตุรัส และถูกสะท้อนในลวดลายผ้าสะคูด้วยเส้นสีเขียว
ประเภทของผ้าสะคู
ผ้าสะคูมีทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ ผ้าสะคูใหญ่และผ้าสะคูเล็ก
- ผ้าสะคูใหญ่ประกอบด้วย 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีน้ำเงินหรือสีกรมท่า และสีขาว
- ผ้าสะคูเล็กประกอบด้วย 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว
ขอบคุณแหล่งที่มา:ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสุรินทร์, หนังสือเฉลิมราชพัสตรา