ผ้าราชวัตร ผ้ายกดอกของชาวเกาะยอ

ผ้าราชวัตร หรือ ผ้ายกดอกของชาวเกาะยอ เป็นศิลปะและงานฝีมืออันน่าอัศจรรย์ของชาวไทย ในบทความนี้ทางเราจะไปสำรวจเรื่องราวของผ้าราชวัตรพร้อมกับความหมายของชื่อ

ผ้าราชวัตร

ผ้าราชวัตร เป็นผ้ายกดอก ทอยกเป็นลายตารางเล็ก ใช้ไหมเส้นยืนหลายสี สีละ ๒ – ๔ เส้น มาเรียงสลับกันไป ตามหน้ากว้างของผืนผ้า และใช้ตะกอ ๔ ตะกอ ทอยกทีละ ๒ ตะกอ สลับกันไปมา จึงทําให้ผ้าเด่น มีลายยกให้เห็นทั้งสองด้าน ผ้ายกดอกจะต้องใช้ ๒ สีขึ้นไปผ้าทอ

ประวัติความเป็นมาของชื่อผ้าราชวัตร

“ราชวัตร” คําแรกเป็นชื่อลายผ้าที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดําเนินไปยังเมืองสงขลาเมื่อปี ๒๔๗๕ ชาวเกาะยอซึ่งเป็นชุมชนที่ทอผ้ามานาน คู่กับชุมชนทุ่งหวัง และชุมชนน้ําน้อย จังหวัดสงขลา ได้คัดเลือกสุดยอดของลายผ้าที่ถือว่ามีลวดลายที่สวยที่สุดระดับราชาแห่งผ้าของเมืองใต้ (ตามคําบอกเล่าของครูกริ้ม สินธุรัตน์) ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ตรัสถามว่าผ้าลายอะไรสวยงามนัก ผู้ถวาย (เป็นใครไม่ทราบได้) ได้ทูลว่า เป็นผ้า “ลายยกดอกก้านแย่ง” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ลายคอนกเขา” เนื่องจากว่า มีลายคล้ายลายขนคอนกเขา ซึ่งชาวบ้านสมัยนั้นผู้หญิงนิยมใช้เคียนอกอยู่กับบ้าน ผู้ชายใช้พาดบ่าเวลาไปวัด พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข้อมูลแล้วดังนั้น จึงพระราชทานนามว่า “ราชวัตร”

อ้างอิง:https://www.chobmai.com/article/99/%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%9C%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%AD