ในภาคอีสานของไทย การทอผ้ายกมุกเป็นศิลปะและมรดกที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก ซึ่งในบทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปพบกับเรื่องราวของผ้ายกมุกและเทคนิคการทอผ้านยกมุกของภาคอีสานในประเทศไทย
ลวดลายผ้ายกมุก
การทอผ้ายกมุกจะใช้เทคนิคการเสริมเส้นยืนพิเศษ โดยมีชื่อเรียกว่า เทคนิคยกมุก และลวดลายของผ้ายกมุกที่ใช้เทคนิคนี้ก็มีได้แก่ ลวดลายผ้าจ่อง, ลายเอี้ย, ลายนาค หรือ ลวดลายผ้าซิ่นทิวมุก เป็นต้น
ลายผ้ายกมุกของแต่ละชุมชน
ในภาคอีสานของประเทศไทย มีกลุ่มคนหลายเชื่อชาติอาศัยอยู่มากมาย ซึ่งในหมู่ชุมชนเหล่านี้ก็มีการทอผ้าที่ต่างกันออกไป อย่างชาวภูไทที่มักนิยมทอผ้าจ่อง ‘ลายเอื้อ’ ที่มีลักษณะเป็นริ้วหยักฟันปลา หรือชาวกะเลิงที่นิยมทอผ้าจ่อง ‘ลายนาค’ ที่มีความสง่างามโดดเด่น ส่วนชาวไท-ลาวก็นิยมทอลวดลายผ้าซิ่นทิวมุกที่ทอเป็นลายชีดเส้นๆ และชาวไทยเชื้อสายเขมรหรือกูยก็นิยมทอเป็นลวดลายตีนผ้าซิ่น “เสลิก” ที่มีลวดลายหลายแบบและประยุกต์ลายขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งสำหรับชาวไท-ลาว ชาวไท-ญ้อ ชาวไท-โส้ ในหลายจังหวัดก็นิยมทอตีนซิ่นเรียบง่ายที่เรียกว่าลวดลายตีนผ้าตำแหนะ
เทคนิคการทอลวดลายผ้ายกมุกและการอนุรักษ์
เทคนิคการทอลวดลายผ้ายกมุกจะใช้เครือเส้นยืน 2 ชุด เครือเส้นยืนชุดหนึ่งจะตั้งระดับสูงกว่าเครือเส้นยืนชุดที่สองและใช้ระบบลูกตุ้มหรือปูนช่วยถ่วงในการขัดตะกอลายผ้าที่คล้ายคลึงกันซึ่งในปัจจุบันหลายชุมชนขาดการสิบทอด บางชุมชนพยายามฟื้นฟูการทอผ้าเทคนิคนี้ขึ้นมาใหม่ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาสิ่งทออีสานให้ลูกหลานได้เรียนรู้
ขอบคุณแหล่งที่มา:หนังสือมรดกภูมิปัญญา สิ่งทออีสาน