ผ้ายกมุกในประเทศไทยแสดงถึงภูมิปัญญาในการทอลวดลายตระการตา ซึ่งแสดงถึงทักษะและความสร้างสรรค์ของชาวไทยผ่านการทอผ้าที่มีความซับซ้อน สำหรับผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ของการทอผ้า คุณจะหลงรักในความงามและความละเอียดของผ้ายกมุกในทันที
ความหมายของผ้ายกมุก
คําว่า ยกมุก มี ๒ ความหมาย คือสื่อถึงมุกที่เป็นเครื่องประดับและอีกความหมายหนึ่ง สื่อถึงหน้าจั่วอุโบสถ (นางวงเดือน อุดมเดชาเวทย์ ผู้ให้ข้อมูล) บางพื้นที่ในภาคเหนือตอนกลาง มีการทอเป็นลวดลายกลม ซึ่งเกิดจากเส้นยืนสีขาว มีลักษณะนูนเด่นเป็นเงา มองดูคล้ายมุก การเรียกชื่อลาย เช่น มุกสี่ มุกห้า มุกหก จังหวัดสกลนคร นครพนม จะเรียกชื่อลายตามจํานวนรูปหน้าจั่วที่ปรากฏในลวดลายและในบางท้องถิ่นจะเรียกชื่อลายตามจํานวนเส้นยืนในแต่ละดอก
ลักษณะของผ้ายกมุก
ผ้ายกมุก เป็นผ้าทอที่มีลวดลายเกิดจากการเพิ่มชุดเส้นยืนและตะกออีก ๑ ชุด รวมเป็น ๒ ชุด ซึ่งต่างจากผ้าทอทั่วไปที่มีเส้นยืนและตะกอเพียง ๑ ชุด ทําให้เกิดลวดลายตามแนวเส้นยืนบนผ้าพื้นตามความยาวของผืนผ้า ลวดลายอาจมีสีเดียวหรือหลายสีก็ได้ (นายสนั่น บุญลา ผู้ให้ข้อมูล)
ผ้ายกมุกในปัจจุบัน
ปัจจุบันยังคงพบมีการทอผ้ายกมุกที่อําเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม อําเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และอําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย