การทำผ้ามัดย้อมเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นจากการมัด การพับ การเย็บ และการใช้เทคนิคพิเศษเพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามบนผ้า ในบทความนี้เราจะสำรวจเรื่องราวและวัฒนธรรมของการทำผ้ามัดย้อมที่ปรากฏตามแต่ละประเทศ และเราจะเห็นว่า แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีรูปแบบและเทคนิคที่แตกต่างกัน ก็มีความพยายามที่เหมือนกันในการสร้างผลงานที่สวยงามและอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนอยู่เสมอ
การทำผ้ามัดย้อมในประเทศอินเดีย
ในสมัยโบราณ การทำผ้ามัดย้อมอาจมีต้นกำเนิดจากการฟอกสีด้วยแสงอาทิตย์โดยบังเอิญ ซึ่งเป็นหลักฐานความรู้ที่พอจะเชื่อถือได้ และประเทศอินเดียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความคุ้นเคยกับเทคนิคการใช้สีย้อมมากที่สุด ผ้ามัดย้อมในอินเดียถือเป็นส่วนหนึ่งของชนบทและวัฒนธรรมสมัยก่อน พบหลักฐานจากเศษผ้าที่มีอายุกว่า 5,000 ปีที่แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้และประสบการณ์ในการใช้สีย้อม
การทำผ้ามัดย้อมในประเทศอินโดนีเซีย
ในประเทศอินโดนีเซีย การทำผ้ามัดย้อมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและศิลปะ การมัดย้อมนี้เรียกว่า “เปลังก์ (Pelangi)” และมีลวดลายที่สวยงามและสดใส อาจเป็นผลจากสภาพแวดล้อมและวัตถุดิบที่พื้นที่ในอินโดนีเซีย
ชนิดของผ้า
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการทำผ้ามัดย้อม สิ่งสําคัญที่เราควรศึกษาคือชนิดของเส้นใยผ้า เนื่องจากในขั้นตอนการย้อมผ้านั้นอาจเกิดปัญหาสีไม่ติดผ้า หรือติดได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นใยผ้าที่ไม่เหมือนกัน จึงทําให้สีที่ออกมานั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ชนิดของผ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- เส้นใยธรรมชาติ คือเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งได้จากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ เส้นใยจากเมล็ด เช่น ฝ้าย นุ่น เส้นใยที่ได้จากใบ เช่น ใยสับปะรด เส้นใยที่ได้จากเปลือกไม้ เช่น ลินิน ผ้าปอ ใยกัญชา ใยกัญชง เป็นต้น และที่ได้จากสัตว์ เช่น ผ้าขนสัตว์ (Wool) ผ้าไหม ซึ่งเส้นใยที่ได้จากสัตว์นี้มีคุณสมบัติทั่วไป คล้ายโปรตีน ดังนั้นเมื่อเปียกน้ําความเหนียวและความแข็งแรงจะลดลง ถ้าถูกแสงแดดเป็นเวลานาน จะสลายตัวหรือกรอบ เส้นใยธรรมชาติจะสามารถย้อมสีออกมาได้ดีและตรงเกือบทุกสี
- เส้นใยสังเคราะห์ เป็นเส้นใยประดิษฐ์ชนิดหนึ่งที่เป็นพอลิเมอร์ ไม่ใช่เซลลูโลส คือเป็นการผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบ ที่เป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมทั้งหมด มนุษย์ทําเส้นใยชนิดนี้ ขึ้นเพื่อต้องการทดแทนเส้นใยธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันเส้นใยธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อยๆ โดย พยายามเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับเส้นใยธรรมชาติมากที่สุด และพัฒนาคุณสมบัติเฉพาะด้านให้ดียิ่งขึ้น เช่น อะครีลิก (Acrylic) พอลิเอสเตอร์ (Polyester) ชีฟอง (Chiffon) ที่ไม่ใช่ชีฟองไหม ไนลอน (Nylon) ผ้าตาข่าย (Mesh) ผ้าหนังเทียม (Leather) เป็นต้น ในด้านของการย้อมสีนั้น ถ้าไม่ใช่สี สําหรับเส้นใยสังเคราะห์ เช่น สีย้อมชนิดดิสเพิร์ส (Disperse Azo) ก็จะไม่สามารถย้อมผ้าติดได้หรือ ติดได้เพียงส่วนหนึ่ง การย้อมสีเดียวกันแต่ผ้าคนละชนิด สีที่ออกมาอาจไม่เหมือนกัน และผ้าแต่ละ ชนิดจะดูดซึมสีได้ไม่เท่ากันด้วย
ในขั้นตอนของการทอผ้าสามารถใช้ทั้งเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์มาผสมกันได้ขึ้นอยู่กับการทอก็จะกลายเป็นเส้นใยผ้าแบบผสม ดังนั้น เวลาย้อมสีก็อาจทำให้สีไม่เท่ากันหรือเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย เช่น ถ้าเราย้อมสีแดงจัดสีที่ออกมาอาจเป็นสีชมพู เนื่องจากเส้นใยธรรมชาติดูดซึมสีได้มากกว่าเส้นใยสังเคราะห์ เมื่อทดสอบเส้นใยผสมโดยการเผา แล้วจะพบว่าผ้าจะมีลักษณะหงิกงอ ถ้าจับจะรู้สึกแข็งเหนียวเหมือนกาว ยกตัวอย่างเช่น ผ้าซาติน แบ่งประเภทเป็นซาตินไหมและซาตินพอลิเอสเตอร์ ถ้าเผาแล้วผ้าจะหงิก ขี้เถ้าเป็นสีตามเนื้อผ้าหรือสีขาวจับแล้วรู้สึกแข็ง
การย้อมผ้าไหม
1. ม้วนผ้าแล้วพันด้วยหนังยางและเอ็น ตั้งแต่ ส่วนต้นจนถึงส่วนปลาย
2. นําผ้าไปย้อมในถังสีที่เตรียมไว้โดยวิธี การย้อมเย็นทิ้งไว้เพียงครู่เดียว เพราะต้องการทํา เป็นเพียงสีพื้นก่อน
3. นําผ้าขึ้นมาล้างสีส่วนเกินออกด้วยน้ําเปล่าจนสะอาดน่าผ้าขึ้นล้างด้วยน้าเปล่าจนสะอาด
4. นําผ้ามามัดซ้ําแล้วนําไปย้อมอีกครั้งหนึ่ง จะเป็นการเพิ่มลวดลายต่างๆ บนผ้าให้มาก ขึ้น โดยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที หรือจนกว่าจะได้สีที่ต้องการ
5. นําผ้าขึ้นมาล้างสีส่วนเกินออกด้วยน้ําเปล่าจน สะอาด แล้วตัดหนังยางที่มัดอยู่ออกใช้กรรไกรตัดหนังยางและเอ็นที่ใช้มัดผ้าออกลวดลายที่ปรากฏบนผ้า
6. นําปลายผ้าทั้ง 2 ด้านไปแช่สีเพิ่มเพื่อเป็นการเพิ่มลูกเล่นความสวยงาม ให้นําไปแช่ สีเขียวอ่อนเพียงครู่เดียว แล้วจึงเปลี่ยนไปแช่ในสีที่เข้มกว่า (ในที่นี้ใช้หม้อก๋วยเตี๋ยวสําหรับการย้อม 2 สี) โดยจุ่มแค่เพียงปลายผ้าคล้ายกับการไล่สี ซึ่งเป็นการเล่นสี ทิ้งไว้ได้นานจนกว่าจะได้สีตามต้องการ
7.นำผ้าขึ้นมาล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาดจะได้ลวดลายของผ้าที่มีการไล่สีกันดังรูป
ขอบคุณแห่งที่มา: ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน, ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสํานักหอสมุดแห่งชาติ