ผ้ากาบบัว ศิลปะที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผ้าที่ถูกคิดค้นขึ้นจากศิลปินผู้มากฝีมือ ความสวยงามและรายละเอียดที่เราจะแสดงให้คุณได้อ่านนั้น จะเป็นการบ่งบอกว่าประเทศไทยเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิ
ผ้ากาบบัว
ผ้ากาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี คิดค้นและออกแบบใน พ.ศ. 2543 โดยนายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่น จังหวัดอุบลราชธานี (สาขาทอผ้า) ครูศิลป์ของแผ่นดิน และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยกระทรวงวัฒนธรรม ใน พ.ศ. 2557 มี 3 ชนิดดังนี้
1. ผ้ากาบบัว ชนิดมาตรฐาน ทอด้วย 4 เทคนิค
- เส้นยืนสลับเป็นริ้วอย่างน้อย 2 สี อย่างซิ่นทิวเมืองอุบล
- เส้นพุ่ง 3 ชนิดทอสลับกัน คือ
1. มัดหมี่
2. มับไม (เส้นไหม 3 สีตีเกลียวแบบหางกระรอก)
3. ขิด (หรือยก)
2. ผ้ากาบบัว จุกดาว เส้นยืนทิว (แบบผ้าซิ่นทิวเมืองอุบล) เส้นพุ่ง ทอสลับ การจกแบบจุกดาว บนผืนผ้าแบบซิ่นทิว
3. ผ้ากาบบัวคํา (ผ้ากาบบัวยกทอง) เป็นผ้ายกทอง ผสมผสานการจกไหมสีต่าง ๆ และอาจมีการทอผสมผสานด้วยมัดหมี่ในผืนเดียวกัน