การนุ่งโจง
การนุ่งโจง เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการแต่งกายที่มีความเป็นเอกลักษณ์และนิยมในภาคอีสานของประเทศไทย ที่มีความคล้ายคลึงกับราชสำนักสยามในภาคกลาง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในโอกาสพิเศษ โดยเฉพาะในกลุ่มคหบดีหรือกลุ่มอดีตเจ้าเมือง
ผ้าหางกระรอก
การใช้ “ผ้าหางกระรอก” เป็นที่นิยมในการนุ่งโจง ที่ทอผลิตในพื้นที่อีสานตอนบน ซึ่งมีภาพถ่ายที่บันทึกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทำการบันทึกภาพถ่ายไว้ และในกลุ่มภาคอีสานตอนล่าง ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษก็มีการทอผ้าสมปักปูม ร่วมกับแหล่งทอผ้าในประเทศกัมพูชา ให้แก่ราชสำนักสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในท้องถิ่น แต่ไม่มีลายเชิงผ้าเหมือนในสมัยราชสำนักสยามในการบ่งบอกยศหรือตำแหน่ง ชาวบ้านในพื้นที่เรียกผ้ามัดหมี่ที่ทอแบบผ้าปูมนี้ว่า “ผ้าโอดเปราะห์” (โฮล สำหรับบุรุษผู้ชาย) ซึ่งยังคงนิยมใช้นั่งในงานพิธีแต่งงาน พิธีบวชนาค และงานสำคัญอื่นๆ
การนุ่งโจงกระเบนมีลักษณะการสวมใส่ที่เปลี่ยนแปลงและละเอียดอ่อน โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1: จัดริมผ้าสองด้านให้เท่ากันและเริ่มจูงผ้าไปด้านหน้า
- ขั้นตอนที่ 2: ทำการมัดปมตามขนาดเอวของผู้นุ่ง
- ขั้นตอนที่ 3: พับผ้าลงแนวเฉียงแล้วม้วนผ้าเหมือนหางปลากระเบน
- ขั้นตอนที่ 4: กางขาให้ห่างออกจากกัน แล้วดึงม้วนผ้าลอดระหว่างขา อ้อมลงไปด้านหลัง
- ขั้นตอนที่ 5: เหน็บชายผ้าไว้ที่เอวด้านหลัง แล้วจัดทรงให้จีบสวยงาม สามารถเดินได้สะดวกคล้ายกางเกงเหมือนเดิม
ผ้านุ่งโจง
ผ้านุ่งโจง (หรือโจงกระเบน) เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการแต่งกายที่ควรน่าจะได้รับความสนใจจากทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่สนใจในเรื่องของวัฒนธรรมไทยหรือชาวต่างชาติที่ต้องการค้นหาและเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “การนุ่งโจง” ศิลปะการแต่งกายนี้มีความหลากหลายและมีความสำคัญในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนอีสาน ทั้งยังเป็นการถ่ายทอดประวัติศาสตร์และวิถีชุมชนที่อยู่ในภาคอีสานอีกด้วย
ขอบคุณแหล่งที่มา:หนังสือมรดกภูมิปัญญา สิ่งทออีสาน, ณ ภัทร ชุดไทย อ.ปราสาท จ. สุรินทร์