ลายเขียนทองแห่งสังคมสยาม มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวสยามมายาวนานนับพันปี ในบทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปศึกษาเรื่องราวของลายเขียนทองที่พบในสังคมแดนสยาม
รูปลักษณะของผ้าเขียนทองที่พบในสังคมสยาม
การผูกลาย เพื่อใช้สําหรับพิมพ์หรือเขียนผ้าลายอย่างสําหรับใช้ทําผ้าเขียนทองนั้น นอกเหนือจากสุนทรียภาพแล้ว ช่างผู้ออกแบบคงคํานึงถึงความสอดคล้องของเนื้อที่บนผืนผ้าและการนําไปใช้สอย จึงก่อให้เกิดผ้าลายอันงดงามลงตัว สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีการดําเนินชีวิตของชาวสยามในอดีต การศึกษาแบบแผนรวมทั้งกระบวนลายบนผืนผ้าลายอย่างเขียนทองในครั้งนี้ จําแนกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการแบ่งส่วนผ้าเพื่อบรรจุลาย ตามแนวทางของ ดร. วีรธรรม ตระกูลเงินไทย โดยอ้างอิงจากเอกสารฉบับร่างเรื่อง การศึกษาวิเคราะห์ลวดลายบนผืนผ้าลายสยาม ซึ่ง ดร.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ได้ทุ่มเทเวลาในการศึกษาค้นคว้ายาวนานเป็นเวลาร่วมสองทศวรรษเศษ
ทว่าถึงแม้ผ้าลายอย่างเขียนทองที่พบในสังคมสยามจะมีหลายชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดแต่ก็พอจะจัดเป็นกลุ่มตามลักษณะการแบ่งส่วนผ้าเพื่อบรรจุลายได้ 4 ลักษณะ คือ
กลุ่มที่ ๑
ผ้ากลุ่มนี้โดยทั่วไปมีขนาดความกว้างประมาณ 90-100 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3 เมตร น่าจะเป็นผ้าสําหรับใช้นั่งโดยตรง เพราะมีขนาด พอเหมาะที่จะใช้นั่ง การออกแบบผ้ากลุ่มนี้มีการกําหนดทิศทางการออกแบบ บรรจุลายลงบนผืนผ้าในแนวนอน โดยแบ่งส่วนสําคัญออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ท้องผ้า มีเนื้อที่เกือบทั้งหมดของผืนผ้า เริ่มตั้งแต่ชายผ้าอีกด้านหนึ่ง จรดชายผ้าอีกด้านหนึ่ง โดยเว้นเนื้อที่ส่วนปลายของผืนผ้าทั้งสองข้างไว้เพียงเล็ก น้อยเพื่อบรรจุลายกรวยเชิง
2. ชุดลายกรวยเชิง ชายผ้าทั้งสองข้างนิยมใช้ชุดลายกรวยเชิงข้างละ 1 ชุด ชุดกรวยเชิงผ้ากลุ่มนี้ประกอบด้วยลายหน้ากระดาน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วย แม่ลาย ทําเป็นเส้นวิ่งไปตามความกว้างของผืนผ้าในแนวตั้ง ตั้งแต่ขอบผ้าด้าน ล่างจรดขอบผ้าด้านบน ภายในบรรจุลายตามความนิยมแห่งยุคสมัย ส่วนใหญ่ ทั้งสองข้างของแม่ลายจะใช้เส้นที่แคบกว่าแม่ลาย ซึ่งเรียกกว่า ลูกขนาบ วิ่งขนาน ไปในแนวเดียวกัน บางครั้งอาจใช้ลายจุดไข่ปลาแทนลูกขนาบก็ได้ ถัดออกมา ภายนอกของชุดหน้ากระดานแต่ละด้านของชายผ้า ใช้ลายทรงกรวยแนวนอน หันปลายแหลมออกด้านนอกของชายผ้าเรียกว่า ลายกรวยเชิง
กลุ่มที่ ๒
ผ้ากลุ่มนี้มีขนาดและลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่ 1 เพียงแต่มีลายทรงพุ่ม ที่มีลักษณะคล้ายกลีบบัวหางยาวขนาดเล็กหลากหลายขนาดเรียงสลับกัน โดยหันด้านหางแทงเข้าไปทางด้านท้องผ้า คั่นอยู่ระหว่างชุดลายกรวยเชิงและท้องผ้าเรียกว่า ช่อแทงท้อง
กลุ่มที่ ๓
ผ้ากลุ่มนี้โดยทั่วไปมีขนาดความกว้างประมาณ 90-100 เซนติเมตร มีความยาวประมาณ 3 เมตร และน่าจะเป็นผ้าสําหรับใช้นั่งโดยตรงเช่นเดียวกับ กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 การออกแบบลายโดยรวมมีการกําหนดทิศทางแบบเดียว กันกับผ้าในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เกือบทุกประการ เพียงแต่เพิ่มองค์ประกอบ เข้าไปซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งเป็นส่วนสําคัญต่างๆ ได้ดังนี้
1. ท้องผ้า คือ ส่วนที่อยู่ตรงกลางของผืนผ้า นับเป็นส่วนที่โดดเด่นที่สุด ด้านบนและด้านล่างของท้องผ้าขนาบด้วยส่วนที่เรียกว่า สังเวียน และด้านข้าง ของท้องผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาถูกกั้นไว้ด้วยชุดลายกรวยเชิง โดยรอบข้างของ ท้องผ้ามีลายทรงพุ่มคล้ายดอกบัวหรือกลีบบัวหางยาวหลากหลายขนาดเรียงสลับกันล้อมทั้งสี่ด้านเรียกว่า ช่อแทงท้อง
2. สังเวียนหรือขอบผ้า มีลักษณะเป็นเส้นแถบยาวอยู่ติดขอบผ้าด้านบน และด้านล่าง วิ่งตลอดจากชายด้านหนึ่งจนสุดชายอีกด้านหนึ่ง สังเวียนผ้ากลุ่มนี้ ประกอบด้วย เส้นหลายเส้นหลายขนาดประกอบกันเป็นชุด เส้นที่สําคัญที่สุดมี ขนาดที่ใหญ่กว่าเส้นอื่นๆ เรียกว่า แม่ลาย ซึ่งบรรจุในลายหน้ากระดานโดยใช้ ลายไม่ต่ํากว่าสองลายสลับกันในหนึ่งแถวต่อเนื่องกันตลอดทั้งเส้นจากชายด้านหนึ่งจรดชายอีกด้านหนึ่ง ปลายสุดของลายบริเวณชายผ้าทั้งสองด้านผูกลายเป็นลายรูปทรงกรวย หันปลายแหลมออกด้านนอกของชายผ้า ทั้งสองข้างของแม่ลาย มีเส้นสองเส้นที่มีขนาดเล็กกว่าวิ่งขนาบตลอดแนว ภายในบรรจุลายทํานองเดียว กันกับแม่ลาย แต่เนื่องจากมีขนาดแคบกว่าแม่ลายมาก การบรรจุลายจึงจําเป็น ต้องตัดทอนรายละเอียดลง เส้นทั้งสองนี้เรียกว่า ลูกขนาบ ขอบนอกสุดของลาย สังเวียน มีเส้นอีกเส้นหนึ่งวิ่งขนานไปกับลูกขนาบเส้นนอก บรรจุลายที่จัดช่องไฟ ห่างๆ ระหว่างแถบเส้นทุกเส้นมีเส้นคู่ขนานขนาดเล็กกั้นไว้ ภายในนิยมบรรจุลายวงกลมขนาดเล็กคล้ายจุดไข่ปลา ลายชุดสังเวียนหรือขอบผ้านี้มีลักษณะเหมือน กันทั้งขอบบนและขอบล่าง
3. ชุดลายกรวยเชิง คือ ชุดลายที่บรรจุตั้งฉากกับลายชุดสังเวียน โดยมี เนื้อที่อยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองข้าง ส่วนประกอบของชุดกรวยเชิง ประกอบด้วย ชุดลายหน้ากระดาน ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันกับชุดลายสังเวียน คือ มีเส้นแม่ลายขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ออกลายต่อเนื่องกันในแนวตั้งนับตั้งแต่ชุดลายสังเวียน ด้านล่างจรดชุดลายสังเวียนด้านบน ทั้งสองข้างของแม่ลายมีลูกขนาบวิ่งขนานไปจนตลอด ถัดออกมาจากลูกขนาบด้านนอกมีลายในรูปทรงกรวยอย่างน้อยสองแบบเรียงสลับกันในแนวนอน หันด้านแหลมออกสู่ด้านนอกของชายผ้าจนสุด ความยาวของชุดลายหน้ากระดาน เรียกลายทรงกรวยนี้ว่า ลายกรวยเชิง ซึ่งเมื่อ นํามารวมกับชุดลายหน้ากระดานที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็เกิดเป็นชุดลายกรวยเชิง ในเชิงผ้ากลุ่มนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชุดลายกรวยเชิงด้านละ 3-4 ชุดด้วยกัน มีขนาดของความกว้างลดหลั่นกัน เนื้อที่ของชุดลายกรวยเชิงชั้นในสุดอันเป็นส่วน ที่ชิดกับท้องผ้ามีขนาดกว้างสุด ส่วนชุดลายกรวยเชิงด้านนอกสุดติดกับชายผ้า มีขนาดแคบที่สุด และในชุดลายหน้ากระดานของชุดลายกรวยเชิงชั้นนี้ไม่นิยม บรรจุลายลูกขนาบ แต่มีเส้นขนาดเล็กเขียนลายวงกลมเหมือนไข่ปลาแทน ชายผ้าทั้งสองด้านบรรจุลายชุดกรวยเชิงเหมือนกันทุกประการ
ขอบคุณแห่งที่มา: ผ้าเขียนทอง: พระภูษาทรงบรมราชาภิเษก พระมหากษัตริย์สยาม